วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)

ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)

สยุมพร ศรีมุงคุณ (2553) ได้กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)   ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ  2  ประการ คือ
1.เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่ 8 ประเภทด้วยกัน ประกอบด้วย  
1.1.เชาวน์ปัญญาด้านภาษา (Linguistic intelligence)
1.2.เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ (Logical mathematical intelligence) 
1.3.เชาว์ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial intelligence)
1.4.เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี (Musical intelligence)
1.5.เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ (Bodily kinesthetic intelligence)
1.6.เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น (Interpersonal intelligence)
1.7.เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง (Intrapersonal intelligence)
1.8.เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ (Naturalist intelligence)
2.เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม

ทิศนา แขมมณี (2553) ได้กล่าวไว้ว่า การ์ดเนอร์ (Gardner) ได้ให้นิยามคำว่า “เชาว์ปัญญา” (intelligence) ไว้ว่า หมายถึงความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่างๆ หรือการสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ การ์ดเนอร์มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ  2  ประการ คือ
1.เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน ประกอบด้วย  
1.1.เชาวน์ปัญญาด้านภาษา (Linguistic intelligence)
1.2.เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ (Logical mathematical intelligence) 
1.3.เชาว์ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial intelligence)
1.4.เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี (Musical intelligence)
1.5.เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ (Bodily kinesthetic intelligence)
1.6.เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น (Interpersonal intelligence)
1.7.เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง (Intrapersonal intelligence)
1.8.เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ (Naturalist intelligence)
2.เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม

ชุติมา สดเจริญ (2556) ได้กล่าวไว้ว่า ในปี พ.ศ. 2526 การ์ดเนอร์ ได้เสนอว่าปัญญาของมนุษย์มีอยู่อย่างน้อย 7 ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านการเข้าใจตนเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้เพิ่มเติมเข้ามาอีก 1 ด้าน คือ ด้านธรรมชาติวิทยา เพื่อให้สามารถอธิบายได้ครอบคลุมมากขึ้น จึงสรุปได้ว่า พหุปัญญา ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ ในปัจจุบันมีปัญญาอยู่อย่างน้อย 8 ด้าน

สรุป
ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences) เป็นแนวคิดของการ์ดเนอร์ (Gardner) ซึ่งมีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ  2  ประการ คือ
1.เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ ด้านภาษา ด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านดนตรี ด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ ด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น ด้านความเข้าใจตนเอง ด้านความเข้าใจธรรมชาติ
2.เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม

ที่มา
ชุติมา สดเจริญ. (2556). https://www.gotoknow.org/posts/547007. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561.
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
สยุมพร ศรีมุงคุณ. (2553). https://www.gotoknow.org/posts/341272. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2561.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สื่อการเรียนการสอน

สื่อการเรียนการสอน จุฬาลักษณ์ สิขิวัฒน์ ( 2551) ได้รวบรวมเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอนไว้ว่า ความหมายของสื่อการเรียนการสอนว่าเป็นเครื่อ...