วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline)

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline)

บุญเลี้ยง ทุมทอง (2556) ได้กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมองเป็นทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนรู้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญที่ผู้เรียน ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทฤษฎีนี้เน้นว่า ความรู้เป็นสิ่งที่ถูกสร้างโดยผู้เรียน ผู้เรียนใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่เป็นพื้นฐานในการสร้างความรู้ใหม่

ทิศนา แขมมณี (2553) ได้รวบรวมไว้ดังนี้ นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  จิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อซึ่งจะแข็งแรงได้ด้วยการฝึกออกกำลังกาย ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไรจิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น นักคิดกลุ่มนี้มีแนวคิดแยกออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ
1.       กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า (Theistic Mental Dicipline) นักคิดที่สำคัญของกลุ่มนี้คือ เซนต์ออกุสติน (St. Augustine) จอห์น คาลวิน (John Calvin) และคริสเตียน โวล์ฟ (Christian Wolff) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ ดังนี้
1)        มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่ว  และการกระทำใดๆของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (bad-active)
2)        มนุษย์พร้อมที่จะทำความชั่วหากไม่ได้รับการสั่งสอนอบรม
3)        สมองของมนุษย์แบ่งออกเป็นส่วนๆ (faculties) ซึ่งหากได้รับการฝึกอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้
4)        การฝึกสมองหรือฝึกระเบียบวินัยของจิต เป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด
5)        การฝึกฝนสมองให้รู้จักคิด  ต้องใช้วิชาที่ยาก เช่น คณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาติน ภาษากรีก และคัมภีร์ไบเบิล เป็นต้น
6)        ทฤษฎีของกลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์ (Humanistic Mental Discipline) นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ พลาโต (Plato) และอริสโตเติล (Aristotle) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อ ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ดังนี้
7)        พัฒนาการในเรื่องต่าง ๆ เป็นความสามารถของมนุษย์ มิใช่พระเจ้าบันดาลให้เกิด
8)        มนุษย์เกิดมามีลักษณะไม่ดีไม่เลวและการกระทำของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายใน (neutral-active)
9)        มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง มนุษย์มีอิสระที่จะเลือกทำตามความเข้าใจและเหตุผลของตน หากได้รับการฝึกฝนอบรมก็จะสามารถพัฒนาศักยภาพที่ติดตัวมา
10)    มนุษย์มีความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่ถ้าขาดการกระตุ้นความรู้จะไม่แสดงออกมา

สยุมพร ศรีมุงคุณ (2553) ได้กล่าวไว้ว่า จิต สมองหรือสติปัญญา (mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก  ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น  หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมาวิธีการสอนแบบโสเครติส (Socratic Method) และวิธีการสอนแบบบรรยาย (Didactic Method) เป็นวิธีการสอนตามทฤษฏีนี้ที่ใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้กระจ่างชัดและช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

สรุป
ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline) เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวกับการพัฒนาจิต สมอง หรือสติปัญญา ให้มีความสามารถเพิ่มมากขึ้นด้วยการฝึกฝน โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ซึ่งจะทำให้จิตหรือสมองได้รับการฝึกให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น ทฤษฎีนี้ยังสามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา ซึ่งทฤษฎีนี้จะแบ่งแนวคิดออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มที่เชื่อในพระเจ้า และกลุ่มที่เชื่อในความมีเหตุผลของมนุษย์

ที่มา
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2556). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. มหาสารคาม: โรงพิมพ์สหบัณฑิต.
สยุมพร ศรีมุงคุณ. (2553). https://www.gotoknow.org/posts/341272. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2561.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สื่อการเรียนการสอน

สื่อการเรียนการสอน จุฬาลักษณ์ สิขิวัฒน์ ( 2551) ได้รวบรวมเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอนไว้ว่า ความหมายของสื่อการเรียนการสอนว่าเป็นเครื่อ...