ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด
(Apperception)
สยุมพร ศรีมุงคุณ
(2553) ได้กล่าวไว้ว่า การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral-passive)
การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง
5 (sensation) และความรู้สึก (feeling) คือ
การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัสการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง
5 และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี
ทิศนา แขมมณี
(2553)
ได้กล่าวไว้ว่า นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ จอห์น ล็อค (John
Locke) วิลเฮล์ม วุนด์ (Wilhelm Wundt) ทิชเชเนอร์
(Titchener) และแฮร์บาร์ต (Herbart) ซึ่งมีความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ดังนี้
1.มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดีความเลวในตัวเองการเรียนรู้เกิดจากการแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม
(neutral-passive)
2.จอห์น ล็อค
เชื่อว่าคนเราเกิดมาพร้อมกับจิตหรือสมองที่ว่างเปล่า (tabula rasa) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5
3.วุนด์ เชื่อว่ามีจิตองค์ประกอบ 2 ส่วนคือ
การสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และการรู้สึก (feeling) คือการตีความหรือแปลความจากการสัมผัส
4.ทิชเขเนอร์
มีความเห็นเช่นเดียวกับวุนด์แต่ได้เพิ่มส่วนประกอบของจิตอีก 1 ส่วน ได้แก่ จินตนาการ (imagination) คือการคิดวิเคราะห์
5.แฮร์บาร์ตเชื่อว่าการเรียนรู้มี 3 ระดับคือ ขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส (sense activity) ขั้นการจำความคิดเดิม (memory characterized) และขั้นการเกิดความคิดรวบยอดและเข้าใจ
(conceptual thinking or understanding)
6.แฮร์บาร์ตเชื่อว่า การสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่
มนัสวี ศรีนนท์
(2560)
ได้กล่าวว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง
5 และความรู้สึกคือการตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัสการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง
5
และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี
นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้ คือ จอห์น ล็อค (John Locke) วิลเฮบ์ม
วุนด์ (Wilhelm Wund) ทิชเชเนอร์ (Titchener) และแฮร์บาร์ต (Herbart)
สรุป
ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด
(Apperception) นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ จอห์น ล็อค (John Locke) วิลเฮล์ม วุนด์ (Wilhelm Wund) ทิชเชเนอร์ (Titchener)
และแฮร์บาร์ต (Herbart) ซึ่งมีความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง
5
และความรู้สึกคือการตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัสการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง
5 และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี
ที่มา
ทิศนา แขมมณี.
(2553). ศาสตร์การสอน
องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
(พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ:
ด่านสุทธาการพิมพ์.
มนัสวี ศรีนนท์. (2560, กรกฎาคม-ธันวาคม). วิเคราะห์วิธีการเรียนรู้ในศตวรรษที่
21.ศึกษาศาสตร์ มมร. 5(2), 141-142.
สยุมพร ศรีมุงคุณ.
(2553). https://www.gotoknow.org/posts/341272. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2561.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น