ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory
of Cooperative or Collaborative Learning)
สยุมพร ศรีมุงคุณ
(2553) ได้กล่าวไว้ว่า แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ
3–6
คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม
โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้
การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้
โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้ มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด
มีการสัมพันธ์กัน มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน
ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ
โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม
เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มเดียว
ทิศนา แขมมณี
(2553)
ได้กล่าวไว้ว่า แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ
3–6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม การเรียนรู้จะเป็นแบบร่วมมือได้
ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญครบ 5 ประการ ดังนี้
1.การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน (positive
interdependence)
2.การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด (face-to-face
primitive interaction)
3.ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน
(individual accountability)
4.การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย
(interpersonal and small-group skills)
5.การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม (group
processing)
ปรารถนา ชนะศักดิ์
(2555)
ได้กล่าวไว้ว่า แนวคิดทฤษฎีการเรียนแบบร่วมมือมีแนวคิดว่า
ในการเรียนรู้ของผู้เรียนปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี 3 ลักษณะ ได้แก่
ลักษณะแข่งขัน ลักษณะต่างคนต่างเรียน และลักษณะร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้
ซึ่งการจัดการศึกษาควรให้โอกาสผู้เรียนได้เรียนรู้ทั้ง 3
ลักษณะโดยรู้จักใช้ลักษณะการเรียนรู้อย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์ มี 5 ประการได้แก่
การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด
ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อยและการวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม
สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory
of Cooperative or Collaborative Learning) มีแนวคิดอยู่ว่า การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ
3–6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม
โดยผู้เรียนจะมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน 3 ลักษณะ ได้แก่ ลักษณะแข่งขัน
ลักษณะต่างคนต่างเรียน และลักษณะร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ การเรียนรู้จะเป็นแบบร่วมมือได้
จะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญครบ 5 ประการ ได้แก่ การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน
การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย
และการวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม
ที่มา
ปรารถนา ชนะศักดิ์. (2555).
https://www.gotoknow.org/posts/510710. [ออนไลน์].
เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561.
ทิศนา แขมมณี.
(2553). ศาสตร์การสอน
องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
(พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ:
ด่านสุทธาการพิมพ์.
สยุมพร ศรีมุงคุณ.
(2553). https://www.gotoknow.org/posts/341272. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2561.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น