ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
สยุมพร ศรีมุงคุณ
(2553) ได้กล่าวไว้ว่า นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง
คือ ไม่ดี–ไม่เลว การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
(stimulus
response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับพฤติกรรมมากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด
สามารถวัดและทดสอบได้ ทฤษฏีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ 3 แนวด้วยกัน คือ
1.ทฤษฎีการเชื่อมโยง (Classical
Connectionism) ของธอร์นไดค์ (Thorndike)
มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ซึ่งมีหลายรูปแบบ บุคคลจะมีการลองผิดลองถูกปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ
จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุดเมื่อเกิดการเรียนรู้แล้ว บุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่เหมาะสมเพียงรูปแบบและจะพยายามใช้รูปแบบนั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าในการเรียนรู้ต่อไปเรื่อยๆ
2.ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning
Theory) ประกอบด้วยทฤษฏีย่อย 4 ทฤษฏี ดังนี้
1)ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ
(Pavlov’s Classical Conditioning) เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า
การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
2)ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน
(Watson’s Classical Conditioning) เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกัน
สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
3)ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี
(Guthrie’s Contiguous Conditioning) เน้นหลักการจูงใจ
สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้เมื่อเกิดขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียว
ก็นับว่าได้เรียนรู้แล้วไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก
4)ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์
(Skinner’s Operant Conditioning) เน้นการเสริมแรงหรือให้รางวัล สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การกระทำใดๆ
ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว
การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเสนอสิ่งเร้าในการเรียนการสอน
การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
มีการแสริมแรงหรือให้รางวัลเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจที่จะเรียนรู้
2.ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)
มีความเชื่อว่าถ้าร่างกายเมื่อยล้า การเรียนรู้จะลดลง การตอบสนองต่อการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อได้รับแรงเสริมในเวลาใกล้บรรลุเป้าหมาย
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงมักคำนึงถึงความพร้อม ความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด
การจัดการเรียนการสอนควรให้ทางเลือกที่หลากหลายเพื่อตอบสนองระดับความสามารถของผู้เรียน
ทิศนา แขมมณี
(2553)
ได้กล่าวไว้ว่า นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลางคือ
ไม่ดี ไม่เลว การกระทำต่างๆของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอกพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญสำคัญ
3 แนวด้วยกันคือ
1.ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism) เชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองซึ่งมีกฎการเรียนรู้
ดังนี้
- กฎแห่งความพร้อม (Law of
Readiness)
- กฎแห่งการฝึกหัด (Law of
Exercise)
- กฎแห่งการใช้ (Law of Use
and Disuse)
- กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (Law of
Effect)
2.ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)
2.1.ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ
(Pavlov’s Classical Conditioning) สรุปได้ว่าการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
ซึ่งเป็นกฎการเรียนรู้ดังนี้
- พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ตอบสนองต่อความต้องการทางธรรมชาติ
- พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
- พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่เกิดจากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติจะลดลงเรื่อยๆและหยุดลงในที่สุดหักไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ
- พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ต่อสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติจะลดลงและหยุดไปเมื่อไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติและจะกลับปรากฏขึ้นได้อีกโดยไม่ต้องใช้สิ่งเร้าตามธรรมชาติ
- มนุษย์มีแนวโน้มที่จะรับรู้สิ่งเร้าที่มีลักษณะคล้ายคล้ายกันและจะตอบสนองมันเหมือนกัน
- บุคคลมีแนวโน้มที่จะจำแนกลักษณะของสิ่งเร้าให้แตกต่างกันและเลือกตอบสนองได้ถูกต้อง
- กฎแห่งการลดภาวะ (Law of
Extinction)
- กฎแห่งการฟื้นคืนสภาพเดิมตามธรรมชาติ
(Law of Spontaneous Recovery)
- กฎแห่งการถ่ายโยงการเรียนรู้สู่สถานการณ์อื่นๆ
(Law of Generalization)
- กฎแห่งการจำแนกความแตกต่าง (Law
of Discrimination)
2.2.ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน
(Watson’s Classical Conditioning) ได้สรุปเป็นกฎการเรียนรู้ดังนี้
- พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้โดยควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติและการเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
- เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใดๆได้ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้
2.3.ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี
(Guthrie’s Contiguous Conditioning) ได้สรุปเป็นกฎการเรียนรู้ดังนี้
- กฎแห่งความต่อเนื่อง (Law
of Contiguity)
- การเรียนรู้เกิดขึ้นได้แม้เพียงครั้งเดียว
(One trial learning)
- กฎของการกระทำครั้งสุดท้าย (Law
of Recency)
- หลักการจูงใจ (Motivation)
2.4.ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์
(Skinner’s Operant Conditioning) สามารถสรุปเป็นกฎการเรียนรู้ได้ดังนี้
- การกระทำใดๆถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก
- ด้านเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว
- การลงโทษทำให้เรียนรู้ได้เร็วและลืมเร็ว
- การให้แรงเสริมหรือให้รางวัลเมื่ออินทรีกระทำพฤติกรรมที่ต้องการสามารถช่วยปรับหรือปลูกฝังนิสัยที่ต้องการได้
3.ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)
- กฎแห่งสมรรถภาพในการตอบสนอง (Law
of Reactive Inhibition)
- กฎแห่งการลำดับกลุ่มนิสัย (Law
of Habit Hierarchy)
- กฎแห่งการใกล้จะบรรลุเป้าหมาย
(Goal Gradient Hypothesis)
มนัสวี ศรีนนท์
(2560)
ได้กล่าวว่า
นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลางคือไม่ดี-ไม่เลว
การกระทำต่างๆของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก
พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ “พฤติกรรม” มาก
เพราะพฤติกรรมเป็นสิงที่เห็นได้ชัด สามารถวัดและทดสอบได้
ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ แนวด้วยกัน คือ 1.ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์
(Thorndike’s Connectionism) 2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไข
(Conditioning Theory) ประกอบด้วยทฤษฎีย่อย 4 ทฤษฎี
ดังนี้ (1) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ (Pavlov’s
Classical Conditioning) (2) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน
(Watson’s Classical Conditioning) (3) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี
(Guthrie’s Contiguous Conditioning) (4) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์
(Skinner’s Operant Conditioning) 3. ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์
(Hull’s Systematic Behavior Theory)
สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ
ไม่ดี–ไม่เลว การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
ซึ่งทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้มีแนวคิดสำคัญๆ คือ
1.ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism)
2.ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ประกอบด้วยทฤษฎีย่อย
4 ทฤษฎี ได้แก่
1) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ
(Pavlov’s Classical Conditioning)
2) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน
(Watson’s Classical Conditioning)
3) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี
(Guthrie’s Contiguous Conditioning)
4)
ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์ (Skinner’s
Operant Conditioning)
3.ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)
ที่มา
ทิศนา แขมมณี.
(2553). ศาสตร์การสอน
องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพฯ:
ด่านสุทธาการพิมพ์.
มนัสวี ศรีนนท์. (2560, กรกฎาคม-ธันวาคม). วิเคราะห์วิธีการเรียนรู้ในศตวรรษที่
21.ศึกษาศาสตร์ มมร. 5(2), 142.
สยุมพร ศรีมุงคุณ.
(2553). https://www.gotoknow.org/posts/341272. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2561.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น