ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)
ทิศนา แขมมณี
(2553)
ได้กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์
รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ
การเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เป็นกระบวนการในการ “acting on” ไม่ใช่ “taking in”
สยุมพร ศรีมุงคุณ
(2553) ได้กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์
รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ
เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล
นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้ (process
of knowledge construction)
ชุติมา สดเจริญ
(2556)
ได้กล่าวไว้ว่า ประเด็นสำคัญของทฤษฎีการเรียนรู้ตาม Constructivism
คือ
1.ผู้เรียนเป็นผู้สร้าง (Construct)
ความรู้จากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม
โดยใช้กระบวนการทางปัญญา (cognitive apparatus) ของตน
2.การเรียนรู้ตามแนว Constructivism
คือ โครงสร้างทางปัญญา เป็นผลของความพยายามทางความคิด
สรุป
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)
ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์
โครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ ทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้
ซึ่งประเด็นสำคัญของทฤษฎีนี้ คือ ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้จากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม
โดยใช้กระบวนการทางปัญญาของตน และการเรียนรู้ตามแนวโครงสร้างทางปัญญา
ที่มา
ชุติมา สดเจริญ. (2556).
https://www.gotoknow.org/posts/547007.
[ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561.
ทิศนา แขมมณี.
(2553). ศาสตร์การสอน
องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
(พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ:
ด่านสุทธาการพิมพ์.
สยุมพร ศรีมุงคุณ.
(2553). https://www.gotoknow.org/posts/341272. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2561.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น